วาตภัย | อุทกภัย | ทุกขภิกขภัย | พายุฝนฟ้าคะนอง | คลื่นพายุซัดฝั่ง | แผ่นดินไหว | แผ่นดินถล่ม | ไฟป่า
เดือน | ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ |
กุมภาพันธ์ | ไฟป่า |
มีนาคม | พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง |
เมษายน | พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง |
พฤษภาคม | พายุฤดูร้อน , อุทกภัย |
มิถุนายน | อุทกภัย , ฝนทิ้งช่วง |
กรกฎาคม | ฝนทิ้งช่วง , พายุฝนฟ้าคะนอง ,พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย |
สิงหาคม | พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง |
กันยายน | พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง |
วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด 1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้ สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุฤดูร้อน (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ก่อนเกิดวาตภัย อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยการมองเห็นระยะไกลไม่ชัดเจน เมฆมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศร้อนอบอ้าว ขณะเกิดวาตภัย พายุลมแรง 15-20 นาที ความเร็วมากกว่า 50 กม./ช.ม เมฆทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลมกระโชกแรงเป็นครั้งคราว มีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บ ฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ถ้านับในใจ 1-2-3 แล้ว ได้ยินเสียงฟ้าร้อง และพายุจะห่างไปประมาณ 1 กม. ถ้าเห็นฟ้าแลบและฟ้าร้องพร้อมกัน พายุจะอยู่ใกล้มาก สภาวะนี้จะอยู่ประมาณ 1 ชม. หลังเกิดวาตภัย พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส ทัศนวิสัยชัดเจน ที่มา : http://www.cmmet.tmd.go.th/met/natural_danger.php |